หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

พระราชกรณียกิจ พระราชินี

พระราชินี กับ กำเนิดโครงการศิลปาชิพ
ทรงริเริ่มโครงการหัตถกรรมเพื่อช่วยเหลือราษฎร เป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านเขา เต่า จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๐๘ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลโท หม่อมเจ้าประเสริฐศรี ชยางกูร ราชคงรักษ์
เป็นผู้ควบคุมโครงการ โดยทรงชักชวนให้หญิงชาวบ้านเขาเต่า หัดทอผ้าฝ้ายขาย เพื่อเป็นอาชีพเสริม

โดยช่วงระหว่างที่ประทับอยู่ณ พระราชวังไกลกังวล ทรงได้มีพระราชเสาวนีย์ให้ไปขอครูทอผ้าจากโรงงานทอผ้า
บ้านไร่ จังหวัดราชบุรี มาสอนการทอผ้าให้แก่ราษฎรบ้านเขาเต่า พร้อมทั้งสร้างกี่ทอผ้าขึ้นท้ายวังไกลกังวล ทรงส่ง
รถไปรับชาวบ้านมาหัดทอผ้า เริ่มจากการทอผ้าขาวม้าและผ้าซิ่นเป็นส่วนใหญ่ พร้อมทั้งพระราชทานอาหารกลางวัน และค่าแรงแก่ผู้ทอ และโปรดเกล้าฯ ให้นางสนองพระโอษฐ์ช่วยกันดูแลเด็กเล็กลูกของราษฎร จนกระทั้งพระราชดำเนิน
กลับกรุงเทพมหานคร จึงบ้ายกิจการไปอยู่ใต้ถุนศาลาวัดเขาเต่า โดยเจ้าอาวาสวัดเขาเต่าและครูใหญ่โรงเรียนเขาเต่า
ช่วยดูแลต่อ

ปัจจุบันโครงการทอผ้าฝ้ายที่เขาเต่าได้เปลี่ยนแปลงเป็นกิจการของกรมการพัฒนา ชุมชน โดยพัฒนากรอำเภอหัวหิน เป็นผู้ดูแลโครงการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑ มีการสอนการทอผ้า ย้อมสี ตัดเย็บ และสอนการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์

โครงการศิลปาชีพอย่างเป็นทางการโครงการแรก คือ โครการทอผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดนครพนม เริ่มจากเสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่ จังหวัดนครพนม ทรงสนพระราหฤทัยในซิ่นไหมมัดหมี่ที่หญิง ชาวบ้านนุ่ง เพราะมีความสวยงามแปลกตา เห็นว่าเหมาะที่จะเป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านเนื่องจากทุกครังเรือนจะทอใช้กัน อยู่ แล้วทรงชักชวนให้ชาวบ้านเริ่มประกอบอาชีพเสริมด้วยการทอผ้าไหมมัดหมี่ และมีพระราชกระแสกับชาวบ้านว่า พระองค์จะ ทรงใช้ผ้าที่พวกเข้าทอซึ่งนับได้ว่าพระราชทานกำลังใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่าง มาก และทรงรับซื้อผ้าที่ชาวบ้านทอทุกผืน โดย ส่งรวมไป ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
โครงการศิลปาชีพอย่างเป็นทางการโครงการแรก คือ โครการทอผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดนครพนม เริ่มจากเสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่ จังหวัดนครพนม ทรงสนพระราหฤทัยในซิ่นไหมมัดหมี่ที่หญิง ชาวบ้านนุ่ง เพราะมีความสวยงามแปลกตา เห็นว่าเหมาะที่จะเป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านเนื่องจากทุกครังเรือนจะทอใช้กัน อยู่ แล้วทรงชักชวนให้ชาวบ้านเริ่มประกอบอาชีพเสริมด้วยการทอผ้าไหมมัดหมี่ และมีพระราชกระแสกับชาวบ้านว่า พระองค์จะ ทรงใช้ผ้าที่พวกเข้าทอซึ่งนับได้ว่าพระราชทานกำลังใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่าง มาก และทรงรับซื้อผ้าที่ชาวบ้านทอทุกผืน โดย ส่งรวมไป ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระราชดำริเกี่ยว กับการอนุรักษ์เต่าทะเล
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยที่เต่าทะเล ทรงตระหนักว่าทรัพยากรธรรมชาติ ทางทะเลของไทยนับวันมีแต่จะ ลดน้อยลง มีสัตว์หลายชนิดที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ โดยเฉพาะเต่าทะเล เช่น เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า เต่าตาแดง ซึ่งในอดีตเคยมีเป็น จำนวนมาก บัดนี้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากราษฎรนิยมเก็บไข่เต่าทะเลไปซื้อขายเพื่อประกอบอาหาร แม้กรมประมงจะ ขอแก้ไขกฎหมายประมง
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ กำหนดให้ผู้ครอบครอง เต่าทะเลมีความผิดตามกฎหมาย แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์เต่าทะเล โดยได้ พระราชทาน
เกาะมันใน จังหวัดระยอง ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้นถวายให้เป็น ทรัพย์สินส่วนพระองค์ จัดเป็น ศูนย์กลางอนุรักษ์และ เพาะขยายพันธุ์เต่าทะเล พระราชทานชื่อว่า โครงการสมเด็จฯอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เริ่มเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ผู้แทนจากกรมประมง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เต่าทะเล เพื่อนำไปใช้ในการแพร่ขยายพันธุ์ศูนย์อนุรักษ์และ เพาะขยายพันธุ์เต่าทะเลนี้

ต่อมาเมื่อโครงการสิ้นสุดลงได้ เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล สังกัดกรมประมง กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ห่างจากชายฝั่งอ่าวมะขามประมาณ ๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๗ ไร่ อันมีสภาพภูมิประเทศเป็น ชายฝั่งยาว ๑,๒๐๐ เมตร กว้าง ๕๕๐ เมตร ประกอบด้วย หาดทรายและ โขดหินน้อยใหญ่จำนวนมาก เป็น แหล่งที่เต่าทะเลชอบขึ้นมาวางไข่ ทั้งเต่ากระและ เต่าตนุ ขณะเดียวกันก็ได้ มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์เต่าทะเล โดยห้ามการจับและ มีไว้ในครอบครองอีกด้วย

ศูนย์ฯมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยชีววิทยาของเต่าทะเลอนุรักษ์ และ เพิ่มจำนวนโดยการเพาะขยายพันธุ์ ปล่อยสู่
ทะเลตามธรรมชาติ โดยวิธีนำไข่เต่าทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ได้ จาก เกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็น พื้นที่ในความดูแลของกองทัพเรือ นำมาเพาะฟัก และ อนุบาล เมื่อลูกเต่ามีอายุประมาณ ๖ เดือน จะ ติดเครื่องหมาย
เพื่อติดตามผล นำปล่อยลงสู่ทะเล ลูกเต่าส่วนหนึ่งนำไปเลี้ยงไว้เป็น แม่พันธุ์พ่อพันธุ์ต่อไป กรมประมงประกาศ
ขอให้ผู้พบเต่าทะเล ที่ติดเครื่องหมายนำส่งคืนศูนย์ เพื่อเป็น ข้อมูลศึกษาค้นคว้าวิจัย และ ยังทดลองเลี้ยงเต่า
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เพื่อให้ผสมพันธุ์และ วางไข่ ซึ่งประสบความสำเร็จ สามารถขยายพันธุ์ลูกเต่าให้มีจำนวน
มากขึ้น นำมาอนุบาลแล้วปล่อยคืนสู่ท้องทะเล
สถานที่ดำเนินการอนุรักษ์เต่าทะเล มี ๒ แห่ง คือ

1. เกาะมันใน ดำเนินการเลี้ยงเต่าทะเลตั้งแต่แรกเกิดจนโตขึ้น วัดขนาดตามที่กำหนดแล้วนำไปเลี้ยงไว้ในคอกในทะเลซึ่งมีเนื้อที่ขนาด ๓๐ ไร่ แล้วศึกษาเก็บข้อมูล
2. เกาะคราม อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพเรือ ศึกษาวิจัยเก็บข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของเต่าทะเลตามธรรมชาติ โดยติดเครื่องหมายที่แม่เต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ประมาณเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พบว่าแม่เต่าตัวเดิมจะ กลับมาวางไข่ห่างกัน
๒ - ๓ ปี หรืออาจจะ ถึง ๕ ปี และ เก็บข้อมูลแม่เต่าใหม่ที่ขึ้นมาวางไข่ และ ศึกษาพบว่ามีประชากรเต่าทดแทนกันพอสมควร

ในปัจจุบัน สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลในชื่อ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล อยู่ในการดูแลของกองทัพเรือ ที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี เปิดให้ประชาชนนักท่องเที่ยวเข้าชม และ ศึกษาหาความรู้เกี่ยว กับการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เต่าทะเล และ
ขายเต่าให้แก่ผู้ประสงค์จะ ปล่อยเต่า นำรายได้ ไปเป็น ค่าใช้จ่ายในการเพาะขยายพันธุ์และ ศึกษาวิจัยเต่าทะเลต่อไป รวมทั้งรับบริจาคด้วย

สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กรมประมง ที่จังหวัดระยองนี้ นอกจากดำเนินการศึกษาวิจัยการเพาะฟักไข่เต่าทะเล การผสมพันธุ์ การวางไข่ การอนุบาล การเลี้ยง ศึกษาพฤติกรรม ดูแลรักษาและ ป้องกันโรคของเต่าทะเลแล้ว ยังศึกษาค้นคว้าเกี่ยว กับปะการังชนิดต่างๆ การแพร่กระจายเติบโตของแนวปะการัง การอนุรักษ์และ ฟื้นฟูปะการังรวมทั้ง
ศึกษาวิเคราะห์การเจริญเติบโต การแพร่กระจายของหอยมือเสือ การปล่อยหอยมือเสือลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
และ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยว กับถิ่นที่อยู่อาศัยของพยูน การกระจายและ แพร่พันธุ์ การเจริญเติบโตของพยูน ตลอดจน
ศึกษาและ สำรวจแหล่งหญ้าทะเลชนิดต่างๆที่เป็น อาหารของพยูน สัตว์น้ำที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ในประเทศไทยด้วย

นอกจากโครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลจะ ได้ ดำเนินโครงการสนองพระราชปณิธานเกี่ยว กับการเพาะเลี้ยงเต่า
ทะเล เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติแล้วโครงการฯ ยังได้ นำเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์ให้ออกประกาศห้ามส่งกระดองเต่าทะเลเป็น สินค้าออกตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔ (ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๒๓) พร้อมทั้งเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับมาตรการอนุรักษ์เต่าทะเล
โดยห้ามครอบครองกระดองเต่าทะเลและ ผลิตภัณฑ์จากเต่าทะเล ผู้ใดฝ่าฝืนจะ มีโทรปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
หรือจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระราชภารกิจใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
เรื่องเล่าของ พลเอกณพล บุณทับ รองสมุหราชองครักษ์

พล.อ.ณพล บุญทับ ข้าราชการบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระบรมราชินีนาถที่ได้ รับมอบหมายให้ไปติดตามสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ ได้ เล่าเรื่องรายเกี่ยวกับ
โครงการต่างๆที่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงดำเนินการ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไว้ดังนี้

โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้โครงการ
หนึ่ง คือ โครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านเกิดจากเมื่อปี ๒๕๔๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯเยี่ยมราษฎร ราษฎรใน ๕ หมู่บ้าน ได้ เข้ามาร้องไห้กับพระองค์ท่านแล้วบอกว่าอยู่ไม่ได้ แล้ว เพราะถูกรบกวนหนัก จนมีคนในตำบล
ตันหยงลิมอ ถูกตัดคอคามอเตอร์ไซด์ระหว่างไปกรีดยางตอนเช้ามืด ชาวบ้านบอกว่าเหตุการณ์อย่างนี้ไม่เคยเกิดขึ้น ชาวบ้านถามพระองค์ท่านว่าจะให้พวกฉันอยู่ที่นี่ หรือจะให้ไปจากที่นี่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถรับสั่งว่าในเมื่อเราอยู่ที่นี่ เราทำมาหากินที่นี่มาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย แล้วจะอพยพไปที่ไหนกัน

พระองค์ท่านก็ทรงพระกรุณาบอกทหารให้ส่งคนมาช่วยฝึกอาวุธให้ ตามที่ชาวบ้านได้ ถวายฎีกา และรับสั่งว่าที่ให้ฝึกนั้น
เพื่อป้องกันตัวเอง ป้องกันทรัพย์สินพี่น้องเรากันเอง ไม่ได้ มีเจตนาให้พวกเธอเที่ยวเอาปืนไปไล่ฆ่าใครต่อใครเขา ขอให้ทำความเข้าใจกันให้ถ่องแท้ รับสั่งเสมอว่าผู้บริสุทธิ์มีสิทธิ์อยู่บนแผ่นดินนี้ มีทั้งพุทธ และมุสลิมไม่ได้ แยกเชื้อชาต
ิศาสนา ใครขอมาก็ฝึกให้ ครูเองก็มาขอฝึก บอกว่าฝึกให้แต่ชาวบ้าน พวกครูยิ่งเสี่ยงอันตรายหนักเลย ฝึกลักษณะ
การรวมกลุ่มกัน ใช้อาวุธเข้าเวรยามในการรักษาหมู่บ้านซึ่งมีผลให้หมู่บ้านเกิดความปลอดภัย มากขึ้น ขณะนี้เป็น
ที่แน่ชัดว่ามีกลุ่มคนต้องการที่จะแบ่งแยกดินแดน เช่น มีการนำวิซีดีภำการตัดศีรษะไปแพร่ภาพในจังหวัดปัตตานี ซึ่งถือเป็น
สิ่งที่น่าเป็นห่วง คนทำมีวัตถุประสงค์ให้ชาวบ้านหวาดกลัว และไม่อยากจะอยู่ในพื้นที่หากเราปล่อยเหตุการณ์ให้ลุกลาม
บานปลาย บ้านเมืองก็ จะแย่
โครงการฟาร์มตัวอย่าง

จากการฝึกอาวุธ ทุกคนก็ระวังตัวหมด ไปไหนก็ไม่กล้าไป เมื่อก่อนเคยขายของในเมือง ไปรับจ้างในเมือง ตอนนี้จะ
ไปคนเดียวก็ไม่กล้า เลยมีรับสั่งว่าจะช่วยเขาอย่างไรในเรื่องการทำมาหากินจึงได้ เกิดโครงการฟาร์มตัวอย่างขึ้นมา เพื่อจะสร้างงานให้กับชาวบ้าน คนไหนไม่กล้าไปทำงานในเมืองก็มาทำในฟาร์มทำการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัว
เลี้ยงสัตว์ สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ และก็มีการทำประมงในครัวเรือน วันใดไม่มีกับข้าวก็สามารถช้อนปลาเป็นอาหาร นอกจากนั้นมีการเลี้ยงแพะนม ที่มีโปรตีนสูง ให้จ้างคนเข้ามาทำงาน เพื่อจะสอนให้เรียนรู้การทำเกษตรอย่างถูกหลัก
วิชาการ เมื่อทำเป็นแล้วก็จะได้ นำกลับไปทำในพื้นที่ของตัวเอง ได้ ผลผลิตเหลือจากรับประทานก็นำมาขายให้ฟาร์มรับซื้อ

การจัดตั้งฟาร์มนั้นอยู่ใกล้ๆกับแหล่งชุมชนเพื่อที่เขาจะได้ มาทำงานง่ายๆอย่างในบางแห่งเป็นกลุ่มของไทยพุทธอาศัย
อยู่ท่ามกลางกลุ่มไทย มุสลิม ผู้ไม่หวังดีก็ใช้วิธียุยงให้ราษฎรแตกสามัคคีกัน พระองค์ท่านทรงลงไปช่วย ๓๐ กว่าปี ช่วย
ให้เขาทำมาหากินได้ ทรงทำอย่างต่อเนื่อง เช่นเรื่องน้ำ บางบ้านน่าสงสานมาก เพราะขุดขึ้นมาน้ำเป็นสนิม ดีที่ช่วงนี้เป็นหน้าฝน จึงพอบรรเทาได้ บ้าง

พระองค์ท่านทรงยอมทำทุกอย่าง เหน็ดเหนื่อยพระวรกายเพื่อคนในชาติ ซึ่งเหมือนกับลูกของพระองค์ท่าน ไม่ว่า
เดือดร้อนมีปัญหาอะไร เช่นโครงการปะการังเทียม อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ชาวบ้านร้องไห้ว่าทำมาหากินไม่ได้ เคยทำประมงอยู่ชายฝั่ง ตอนนี้ปลาไม่มีจากนั้นตี ๓ พระองค์ท่านเรียกประชุม ๒ ชั่วโมงว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร ซึ่งมีสาเหตุจากอวนลากอวนรุน ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี เสนอการกำหนดระยะของการทำประมง คือ ระยะ ๕ กิโลเมตรจากชายฝั่งใช้เครื่องมือตกปลาขนาดเล็ก ระยะ ๕ – ๑๐ กิโลเมตร ให้ประมงปั่นไฟ และระยะ ๑๐ – ๑๕ กิโลเมตร อวนลากอวนรุนดำเนินการ แล้วก็ทิ้งปะการังเทียมเพื่อป้องกันการใช้อวนที่ระยะผิดประเภทไปในตัว และให้ปลาได้ อาศัยปะการังเทียมนี้เป็นที่หลบยามลมพายุแรงๆหรือใช้ชั้ง คือทางมะพร้ามถ่วงด้วยปูนซีเมนต์เพื่อให้ปลาเกาะอยู่ชายฝั่ง

พระองค์ท่านรับสั่งว่าอยากเห็นโครงการนี้เกิดขึ้นก่อนเสด็จฯกลับ ซึ่งตอนนั้นเป็นวันที่ ๒๔ กันยายน พระองค์ท่านเสด็จฯ
กลับต้นตุลาคม ทุฝ่ายก็รีบดำเนินการ นี่คือการแก้ปัญหาให้ไทยมุสลิมโดยตรง ที่ปัตตานี ไม้แก่น สายบุรี หนองจิก
อำเภอเมือง ปัตตานี จนถึงตากใบ นราธิวาสพอทิ้งไป ๖ เดือน ปลาก็มาวางไข่ ตอนนี้ปลาชุกมาก ชาวบ้านมีกินมีใช้ สามารถนำปลาไปขายได้ กฺโลกรัมละ ๒๐๐ – ๓๐๐ บาท นี่ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระราชินี ทรงผ้าไทยเสด็จฯ ไปทั่วหล้า
จากหนังสือวารสารราชบัณฑิตยสถาน ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในโอกาสทรงเจริญพระชนพรรษา ๗๒ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ มีบทความของคุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี
เล่าถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงผ้าไทยเสด็จฯ ไปทั่วหล้า ไว้ว่า

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงสนพระราชหฤทัยในผ้าซิ่นที่ชาวบ้านนุ่งอยู่ครั้งทรงเสด็จไป
เยี่ยยมราษฎร จังหวัดนครพนม และทรงจะจัดตั้งให้มีการทอผ้าเป็นอาชีพเสริมให้แก่ชาวบ้าน พระองค์ท่าน
เสด็จฯไป ทรงเยี่ยมราษฎรในฉลองพระองค์ด้วยผ้าที่พวกชาวบ้านทอชาว บ้านต่างตกใจ ว่านี่หรือเป็นผ้าที่เขา
ทอกันเองจึงเป็นกำลังใจในการทอให้แก่ชาวบ้านมากยิ่งขึ้น

จากสมัยก่อนที่มีความคิดอยู่ว่า ผ้าไหม โดยเฉพาะผ้าไหมมัดหมี่ ใส่แล้วจะดูแก่ ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น
เลย พระองค์ท่านก็โปรดฯให้ตัดฉลองพระองค์ถวายสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ ทรงบ้าง ซึ่งปรากฏว่าก็งดงาม ปัจจุบันนี้
แม้กระทั่งพระเจ้าหลานเธอฯ ก็ทรง เป็นที่ยอมรับกันว่า ไม่ได้เหมือนอย่างที่คิดเอาไว้ แล้วก็เลยออกมาแพร่หลาย
มากมายเหมือนอย่างปัจจุบันนี้

พระองค์ท่านทรงสนับสนุนให้เขาทอมากขึ้น เปลี่ยนผืนให้ใหญ่ขึ้น จากนั้นตั้งเป็นมูลนิธิแล้วเอาผ้าที่รับซื้อมาจาก
ชาวบ้านออกเผยแพร่ให้คน รู้จัก ชักชวนให้ช่วยกันสนับสนุนฝีมือชาวบ้าน เป็นที่นิยมมาก สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี
ทั้งหลาย ซื้อมาตัดใส่กัน แล้วก็แพร่หลายออกไปเรื่อยๆ ทรงใช้ช่างไทยในการตัดฉลองพระองค์ นอกเสียจากสมัยที่
เสด็จฯ ต่างประเทศ อากาศหนาวต้องใช้เสื้อแบบตะวันตก ก็จะมีช่างชาวต่างประเทศมาช่วยออกแบบบ้าง แล้วอีก
ประการหนึ่งที่พระองค์ท่านทรงใช้ดีไซเนอร์ต่างประเทศบ้าง นอกจากที่จะให้เขาออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับประเทศ
นั้นๆ ที่จะเสด็จฯไปแล้ว อีกประการหนึ่งก็คือการที่ทรงให้ดีไซเนอร์ผู้นั้นได้มีโอกาสมาเลือกผ้าไหม ไทย แล้วก็เอา
ไปออกแบบตัดเย็บในห้องเสื้อของเขา ก็นับว่าเป็นการเผยแพร่ผ้าไทยให้ได้มีโอกาสไปอวดโฉมอยู่ที่นั่นให้เป็นที่
รู้จักกันมากขึ้น

การประกวดผ้าไหม จะมีดีไซเนอร์จากต่างประเทศขอเข้ามาชมมากขึ้นทุกปี อย่างเช่น มาดามฮานาเอะ มอริ
หลายคนขอมาเพื่อที่จะมาสัมผัสกับผ้าด้วยตนเอง แล้วเขาก็ตื่นเต้น เอาไปตัดเย็บไว้ในห้องเสื้อของเขา
พอลูกค้ามาเห็น ลูกค้าชอบใจก็จะสั่งตัด แล้วก็สั่งผ้าเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พระองค์ท่านมิได้ทรงช่วยให้ชาวไร่ชาวนาไทยมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นหากทรงเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รู้จัก
ประเทศไทยอย่างกว้างไกลในหลายๆ ด้าน ผ้าไหมไทยเป็นสิ่งสูงค่าที่ผู้คนชื่นชอบไปทั่วโลก ก็ด้วยพระบารมี
ขอบคุณที่มาจากเว็บ กระปุกดอทคอม

ไม่มีความคิดเห็น: